เทศบาลตำบลบึงสำโรง
อำนาจหน้าที่



อำนาจหน้าที่ของเทศบาล ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และตามกฎหมายอื่น เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน เทศบาลตำบลบึงสำโรง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ตามภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

(1) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ (มาตรา 50 (2))
(2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 51(7))
(3) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ (มาตรา 51(8))
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
(5) การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))

ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 50(4))
(2) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 50(7))
(3) ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา (มาตรา 51(1))
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา 51(6))
(5) ส่งเสริมการฝึกและการประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
(6) การสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 16 (10))

ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา 50(1))
(2) ให้มีและเครื่องใช้ในการดับเพลิง (มาตรา 50 (5))
(3) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ (มาตรา 51(2))
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา 51(4))
(5) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))

ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม (มาตรา 51(3))
(2) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร (มาตรา 51(5))
(3) เทศพาณิชย์ (มาตรา 51(9))
(4) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา 16(1))
(5) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
(6) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 16 (8)

ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา 50 (3))
(2) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (มาตรา16 (3))
(3) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา 16 (20))
(4) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา 16 (21))
(5) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา 16 (22))
(6) การผังเมือง (มาตรา 16 (25))
(7) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16 (27))

ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8))
(2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16(20))
(3) การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))
(4) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา 17(18))

ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนา ท้องถิ่น ( มาตรา 45(3))
(2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น และสมควร (มาตรา 67(9))
(3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16(16))
(4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17(3))
(5) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา17(16))

ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาล สามารถจะแก้ไขปัญหาของ เทศบาลได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วย การดำเนินการของ เทศบาลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารเทศบาลเป็นสำคัญ หมายเหตุ : มาตรา 50,51 หมายถึง พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 16,17 และ 45 หมายถึง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542